loader image
ยินดีต้อนรับสู่
ชมรมไอที อันดามัน
info@itandaman.com
NewIT

Apple เปิดสอนสร้าง AR และชมงานศิลปะผ่าน AR ฟรี! ใน Apple Store

297views

Apple เปิดสอนสร้าง AR ฟรี และชมงานศิลปะผ่าน AR ฟรี ผ่านกิจกรรมเซสชั่น Today at Apple ด้านศิลปะชุดใหม่ เกี่ยวกับประสบการณ์เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality หรือ AR) ซึ่งจัดขึ้นที่ Apple Store ทั่วโลก รวมถึงที่ไทย ณ APPLE ICON SIAM ด้วย โดยเซสชั่นใหม่ทั้งสามหัวข้อนี้ประกอบด้วย การเดินชมผลงานศิลปินร่วมสมัยชั้นนำระดับโลกในรูปแบบอินเทอร์แอ็คทีฟ เซสชั่นภายในร้านที่สอนการสร้างผลงาน AR ระดับพื้นฐานด้วย Swift Playgrounds™ และผลงานศิลปะจัดวางในรูปแบบ AR ซึ่งสามารถไปชมได้ที่ Apple Store ทั่วโลก

Nick Cave รังสรรค์ผลงาน “Soundsuits” ชื่อดังของเขาขึ้นใหม่ใน Today at Apple [AR]T Walk – ภาพจาก AppleApple ได้เชิญ New Museum ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นนำด้านศิลปะร่วมสมัยในนิวยอร์กให้คัดเลือกศิลปินเจ็ดท่าน ได้แก่ Nick Cave, Nathalie Djurberg และ Hans Berg, Cao Fei, John Giorno, Carsten Höller และ Pipilotti Rist ให้มาเข้าร่วมโปรเจ็กต์เชิงประสบการณ์ที่เปิดให้ทุกคนเข้าชมได้ฟรี

“Today at Apple นำเสนอช่องทางด้านศิลปะสร้างสรรค์ที่ผลิตภัณฑ์ของเราและลูกค้าสามารถทำได้จริง” Deirdre O’Brien รองประธานอาวุโสฝ่าย Retail + People ของ Apple กล่าว “เราหวังว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน AR ที่น่าทึ่งใน [AR]T Walk และผลงานศิลปะจัดวางภายในร้าน และเราก็เฝ้ารอดูสิ่งที่ผู้มาเยี่ยมชมจะได้สร้างสรรค์ผ่านการเรียนรู้ใน [AR]T Lab”

[AR]T Walk: เทคโนโลยีความจริงเสริมที่คัดสรรร่วมกันกับ New Museum

ประสบการณ์การเดินชมนี้จะนำผู้เข้าร่วมไปยังซานฟรานซิสโก, นิวยอร์ก, ลอนดอน, ปารีส, ฮ่องกง และโตเกียว เมื่อได้สัมผัสกับผลงานศิลปินชื่อก้องโลก ซึ่งส่วนใหญ่นั้นได้ทำงานในรูปแบบ AR เป็นครั้งแรก ผลงาน ของ Cave, Djurberg และ Berg, Cao, Giorno, Höller และ Rist จะเชื่อมโยงผู้เข้าร่วมกับพื้นที่สาธารณะ เช่น จตุรัส Trafalgar ในลอนดอน, Yerba Buena Gardens ในซานฟรานซิสโก หรือ Grand Army Plaza ในสวนสาธารณะ Central Park ของนิวยอร์ก

ศิลปินจะได้รังสรรค์หรือคิดค้นวิธีใหม่ๆ ในการแสดงออกถึงธีมหลักในผลงานศิลปะของตนด้วยการใช้ AR “International Liquid Finger Prayer” ของ Rist นั้นจะกระเด้งกระดอน ยั่วเย้า และร้องเพลงในขณะที่ผู้เข้าร่วมพยายามวิ่งไล่จับรูปทรงที่ระยิบระยับ ในขณะที่ “Now at the Dawn of My Life” ของ Giorno นั้นเป็นการเดินทางสีรุ้งของภูมิปัญญาง่ายๆ และ “Through” โดย Höller ก็จะนำผู้ชมผ่านช่องทางเข้าไปยังโลกที่ไร้ซึ่งทัศนมิติ